จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

ขนมในขบวนขันหมาก

ขนมที่ใช้ในขบวนขันหมาก นิยมจัดเป็นคู่ ในสมัยโบราณใช้ ขนมมากมายหลายอย่าง แต่ที่สำคัญ ๆ มี ขนมกง ขนมทองเอก ขนมชะมด ขนมสามเกลอ ขนมโพรงแสม ขนมรังนก ซึ่งปัจจุบันนอก จากจะหายากแล้ว บางทีเอ่ยชื่อมา หลายคนคงไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินก็มี ขนม ยอดนิยมสำหรับการทำบุญต่าง ๆ ในปัจจุบัน ก็คือ ขนมทองหยิบ ขนมฝอยทอง ขนมเม็ดขนุน ขนมลูกชุบ ขนมชั้น ขนมหม้อแกง ขนมข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว ฯลฯ    ส่วนขนมที่ไม่นิยมใช้ในงานแต่งงาน หรือ งานมงคล ก็มี เช่น ขนมต้มแดง ต้มขาว เพราะโดยทั่วไปจะใช้ใน การทำพิธีทางไสยศาสตร์
หาก ขนมยังติดกัน ทั้งสามลูก หมายถึง คู่บ่าวสาวจะอยู่กินด้วยกัน อย่างมีความสุข และมีลูกหลาน สืบสกุล หากขนมติดกัน แค่สองลูก หมายถึง อาจจะมีลูกยาก หรือไม่มีลูก แต่ยังครองรักกันครองเรือนร่วมกัน หากขนมแยกออกจากกันหมด หมายถึง ชีวิตคู่อาจจะไม่ยืดยาว เรื่อง นี้มีการแก้เคล็ดหรือป้องกันต่าง ๆ กัน เช่น เอาไม้เสียบไว้ก่อนทำการทอดเพื่อไม่ให้หลุด หรือใช้วิธี การผสมให้แป้ง มีความเหนียวพิเศษ ฯลฯ

     ขนมกง เป็นขนมที่ทำจากถั่วเขียวหรือถั่วทอง ข้าวตอก แป้งข้าวเหนียว น้ำตาลโตนด มะพร้าวห้าว น้ำมันมะพร้าว ถั่วคั่วจนสุกเหลืองแล้วเราะเปลือกออก มีวิธีทำค่อนข้างลำบาก และต้องชุบแป้งก่อนทอดน้ำมัน เสร็จแล้วยังต้องทำฝอยสำหรับหุ้มชิ้นขนมอีกด้วย
      ขนมสามเกลอ ทำจากแป้งข้าวเหนียว ไส้ทำด้วยมะพร้าวห้าวขูดเป็นฝอย กวนน้ำตาล ใส่ถั่วเขียว หรือถั่วทองคั่วสุก ใช้ไม้เสียบให้ติดกัน ๓ ลูกแล้วชุบแป้งทอด มีฝอยหุ้มเช่นเดียวกับขนมกง
      ขนมชะมด ทำไส้ด้วยถั่วเขียวหรือถั่วทอง นำมาแช่น้ำ ๖ ชั่วโมงแล้วนึ่งให้สุก ใส่เกลือพอเค็มกร่อย ๆ โขลกจนเหนียวปั้นเป็นก้อน ปั้นเป็นลูกไม่ต้องหุ้มแป้ง ใช้ไม้เสียบเป็นก้อนเส้าแล้วชุบแป้งทอด มีฝอยหุ้มเช่นเดียวกัน
      ขนมโพรงแสม ทำจากแป้งข้าวเจ้ากับข้าวเหนียว ผสมแล้วห่อผ้าทับให้แห้งปั้นเป็นลูกกลม ต้มหรือนึ่งให้สุก อย่างขนมจีน ใส่ครกโขลกให้แป้งสุกกับดิบเข้ากัน นำไปนวดกับกะทิที่เคี่ยวจนแตกมัน เมื่อนวดได้ที่ นำไปแผ่ คลึงด้วยกระบอกไม้ไผ่บนใบตองสด นำลงทอดน้ำมันทั้งไม้กระบอก เมื่อแป้งสุกจะกลมตามรูปกระบอกและหลวมตัว เอาไม้เขี่ยกระบอกออก เหลือแต่เนื้อขนม ทอดต่อไปจนเหลือง โรยหน้าด้วยน้ำตาลเคี่ยวเป็นรูปต่าง ๆ ให้สวยงาม
     เกี่ยว กับขนมต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีแต่งงานสมัยโบราณนั้น พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวไว้ในภาคผนวก ของหนังสือเล่มเดียวกันนี้ หากต้องการรายละเอียดก็สามารถไปหาอ่านได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น